แก้ไขถุงใต้ตา ตกแต่งถุงใต้ตา

ถุงใต้ตา หรือบางคนอาจเรียกว่า ถุงเงินถุงทอง ถุงนี้เกิดจากการหย่อนของเนื้อเยื่อใต้ตาที่หุ้มถุงไขมันมีการอ่อนแรง ทำให้ มีไขมันบางส่วนไหลออกมา(Periorbital Fat Herniation) การมีถุงใต้ตานั้นไม่ขึ้นกับอายุของคนไข้ บางคนเป็น กรรมพันธุ์ทำให้อายุน้อยแต่มี ถุงใต้ตา ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ถุงใต้ตามักสังเกตเห็นเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป อาจมาพร้อมกับ การย่นของผิวหนังใต้ตาด้วย


การผ่าตัด ถุงใต้ตา มี 2 วิธีคือ ?

วิธีที่ 1 การผ่าตัดถุงใต้ตาตามแบบทั่วไป ( Traditional Lower Blepharoplasty) เป็นการตัดเอาหนังตาล่างออกร่วมกับการดูดไขมันใต้ตาออก รวมถึงการเย็บเนื้อเยื่อที่หุ้มถุงไขมัน ให้ตึงแข็งแรงเหมือนเดิม

วิธีที่ 2 การผ่าตัดถุงใต้ตาโดยผ่านทางเยื่อบุตา( Transconjunctival Lower Blepharoplasty) เป็นการผ่าตัดโดยการนำไขมันใต้ตาออกทางเยื่อบุตาล่าง ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องมีแผลผ่าตัดภายนอก อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ไม่ได้เหมาะกับคนไข้ทุกคน เนื่องจากไม่ได้ทำให้หนังใต้ตาตึงขึ้น และมีโอกาส กลับมาเป็นใหม่ หรือผ่าตัดแล้วไม่สามารถเอาไขมันออกได้หมด


เทคนิคที่ใช้ในการผ่าตัด ถุงใต้ตา ?

เทคนิคที่ 1 การเปิดแผลด้านนอก เป็น การผ่าตัดโดยการนำไขมันใต้ตาออกทางเยื่อบุตาล่าง ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องมีแผลผ่าตัดภายนอก อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ไม่ได้เหมาะกับคนไข้ทุกคน เนื่องจากไม่ได้ทำให้หนังใต้ตาตึงขึ้น และมีโอกาส กลับมาเป็นใหม่ หรือผ่าตัดแล้วไม่สามารถเอาไขมันออกได้หมด

เทคนิคที่ 2 การเจาะเก็บถุงไขมันตาล่างผ่านทางเยื่อบุหนังตา

ในกรณีที่ตาล่างมีถุงไขมันเพียงอย่างเดียว ไม่มีเปลือกตาย้อยหรือหย่อนร่วมด้วย แพทย์สามารถ เจาะเก็บไขมันจากด้านในเปลือกตาได้ โดยไม่มีแผลด้านนอก แต่หากมีเปลือกตาย่นด้วย จะทำให้ รอยย่น เกิดมากขึ้น และต้องใช้วิธีลดรอยหย่อนด้วยวิธีอื่นร่วมด้วย เช่น การใช้เลเซอร์ลอกผิว หรือต้องตัดตาล่างออกในภายหลัง


วิธีการนี้มีข้อดี คือ
ไม่มีแผลภายนอก ผ่าตัดโดยใช้เครื่องจี้ไฟฟ้าหรือเลเซอร์ แต่จะไม่สามารถตัดแต่ง หนังตาได้ จึงเหมาะกับผู้มีไขมันมาก แต่ไม่ต้องการตัดแต่งหนังตา


ขั้นตอนการผ่าตัด ?

• ฉีดยาชาบริเวณผนังเปลือกตาล่าง ร่วมกับการให้ยานอนหลับอย่างอ่อนๆ
• ผ่าเปิดผิวหนังเป็นลักษณะเส้นยาวตรงบริเวณหนังตาล่างที่อยู่ขอบใต้ขนตา เพื่อตัดเอาถุงไขมัน ส่วนเกินที่อยู่ภายใต้หนังตาล่างออก
• ตัดเย็บกล้ามเนื้อและผิวหนังบริเวณเปลือกตาล่างที่หย่อนให้เรียบตึง
• เย็บปิดแผลด้วยไหมเส้นเล็ก โดยจะซ่อนอยู่ชิดกับขนตาล่าง


การดูแลหลังการผ่าตัด ?

• นอนยกศีรษะสูง ประคบเย็นที่ตาทั้ง 2 ข้าง วันละ 4 ครั้ง ประคบประมาณ 5 – 7 วัน เพื่อลดอาการบวม
• ผ้า ก๊อส (GAUZE) ที่ปิดแผลบนตานั้นให้ปิดเพียง 1 วันหลังจากทำการผ่าตัด เช้าวันรุ่งขึ้นมาที่คลินิก เพื่อเปิดผ้าก๊อสออกและเช็ดทำความสะอาดแผล
• ใน กรณีที่คนไข้ไม่สามารถมาพบแพทย์ในวันรุ่งขึ้นได้ ให้คนไข้ดึงไหมที่อยู่บนหางคิ้วลงมาไว้ใต้ตาล่าง (ใต้แผลผ่าตัด) ด้วยตัวเอง และนำแผ่นเทปที่ให้ไปติดไหมทุกเส้นไว้ใต้แผลผ่าตัด เพื่อป้องกันไหม แทงทิ่มในตา ถ้าปลายไหมยาวไปให้ตัดออกได้ และปิดเทปไว้จนกระทั่งมาตัดไหม (อย่าเพิ่งให้แผลถูกน้ำ)


หมายเหตุ

• ใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำเกลือ เช็ดคราบเลือดและสิ่งสกปรกออกโดยเช็ดอย่างเบามือวันละ 2 – 3 ครั้ง และสามารถเช็ดได้บ่อย ๆ เมื่อสกปรก
• รับ ประทานยาตามแพทย์สั่งจนหมด ถ้าเกิดอาการแพ้ยา เช่น คัน มีผื่นแดง คลื่นไส้ – อาเจียน แน่นหน้าอกให้หยุดรับประทานทันที และรีบมาพบแพทย์
• หลังทำผ่าตัด 5 วัน ให้มาตัดไหม
• หลังทำผ่าตัด 2 อาทิตย์ หรือ 1 เดือน ให้มาพบแพทย์เพื่อตรวจอาการอีกครั้ง (โทรนัดล่วงหน้า)
• งดสุราและบุหรี่ 1 อาทิตย์
• ถ้ามีอาการบวม เลือดออกมาก ให้โทรปรึกษาแพทย์ทันที
• รับประทานอาหารได้ทุกอย่าง ยกเว้น อาหารที่เผ็ดจัดเป็นระยะเวลา 7 วันหลังผ่าตัดเพราะจะทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น อาจทำให้มีเลือดออกจากแผล
• สามารถทำงานได้ตามปกติ แต่ควรงดการทำงานหรือการออกกำลังกายรุนแรง 7 วันหลังผ่าตัด
• ควรงดใช้สายตาในช่วงแรก ๆ เพราะการใช้สายตา เช่น การดูทีวี หรือ การอ่านหนังสือ ทำให้ต้องกะพริบตาและเปลือกตาต้องเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา อาจทำให้แผลอักเสบและหายช้า
• กรณีที่คุณใส่คอนแทคเลนส์ ควรเปลี่ยนไปสวมแว่นตาแทนในช่วงอาทิตย์แรก หรือจนกว่าจะหายบวม และห้ามดึงเปลือกตาเพื่อใส่คอนแทคเลนส์ เพราะจะทำให้แผลผ่าตัดที่เย็บไว้เปิดแยกจากกันได้
• สามารถแต่งหน้าและแต่งแต้มตาได้ตามปกติ หลังจากผ่าตัดแล้วประมาณ 1 – 2 อาทิตย์
• ระวังไม่ขยี้ตารุนแรง 3 อาทิตย์


อาการข้างเคียง ?

• เปลือกตาปิดไม่สนิท ในวันแรกคุณยังหลับตาได้ไม่สนิท หลังจากไม่กี่อาทิตย์ถัดมา คุณจะสามารถ หลับตาสนิทเอง
• ตา แห้งหรือรู้สึกเหมือนมีทรายอยู่ในตา มันจึงปล่อยน้ำตาออกมาทำให้นัยน์ตาฉ่ำเยิ้ม และมองอะไร ไม่ชัด เพราะเกิดจากการตัดผิวหนังไขมันส่วนเกินบริเวณเปลือกตาล่างออกมากเกินไป ทำให้ เปลือกตาล่างหดตัวลง อาการนี้มักจะเกิดไม่นาน และจะกลับเป็นปกติภายในเวลาไม่กี่วัน หรือเป็นอาทิตย์